เคล็ดลับการฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่ง | โรงพยาบาลสัตว์เอราวัณ

Last updated: 1 ก.ย. 2566  |  187 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เคล็ดลับการฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่ง | โรงพยาบาลสัตว์เอราวัณ

สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่ฉลาดและเชื่อฟังคำสั่งได้ แต่สุนัขบางตัวอาจไม่เชื่อฟังคำสั่ง เนื่องจากขาดการฝึกฝน หรือได้รับการฝึกฝนอย่างผิดวิธี การฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่งนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงทำตามหลักการและเคล็ดลับดังต่อไปนี้

หลักการการฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่ง

1. ใช้วิธีการฝึกแบบบวก
การฝึกแบบบวกคือการใช้วิธีการให้รางวัลเมื่อสุนัขทำตามคำสั่ง จะช่วยให้สุนัขเกิดความสนุกสนานในการฝึก และเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ต่อไป รางวัลที่ใช้ฝึกสุนัขนั้นอาจเป็นอาหาร ขนม ของเล่น หรือคำชมเชย

2. เริ่มฝึกตั้งแต่ยังเล็ก
สุนัขเป็นสัตว์ที่เรียนรู้ได้เร็ว จึงควรเริ่มฝึกให้เชื่องตั้งแต่ยังเล็ก ช่วงเวลาที่เหมาะกับการฝึกสุนัขมากที่สุดก็คือ ช่วงอายุตั้งแต่ 1-3 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่สุนัขกำลังมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว และกำลังเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว

3. ฝึกอย่างสม่ำเสมอ
การฝึกสุนัขควรฝึกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สุนัขเกิดการเรียนรู้และจดจำคำสั่งได้ การฝึกสุนัขควรฝึกเป็นเวลาสั้น ๆ ในแต่ละครั้ง ไม่ควรฝึกนานเกินไป เพราะจะทำให้สุนัขเบื่อและไม่อยากฝึก

เคล็ดลับการฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่ง

- ฝึกสุนัขในที่เงียบสงบ
- ฝึกสุนัขด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลและมีความมั่นใจ
- ชมเชยและให้รางวัลสุนัขเมื่อทำตามคำสั่ง
- ฝึกสุนัขให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย
- ฝึกสุนัขให้อยู่ร่วมกับผู้อื่น

การฝึกคำสั่งพื้นฐาน
การฝึกคำสั่งพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุนัขทุกตัว คำสั่งพื้นฐานที่ควรฝึก ได้แก่ คำสั่งนั่ง นอน คอย เรียก และไม่ทำ

การฝึกคำสั่งนั่ง
1. เริ่มการฝึกโดยสอนสุนัขให้รู้จักนั่งตามคำสั่ง การนั่งเป็นรูปแบบของสุนัขที่สื่อถึงความสุภาพ มันเป็นท่าทางโดยธรรมชาติ แสดงว่าสุนัขตัวนั้นไม่ก้าวร้าวและมันเต็มใจที่จะเฝ้ารอ   - เมื่อคุณย้ำคำสั่ง 'นั่ง' สุนัขจะเรียนรู้ว่าเวลาที่มันต้องการอะไรสักอย่าง หรือถ้าคุณกำลังยุ่ง การนั่งรอเป็นสิ่งถูกต้องที่จะทำ
- เป้าหมายคือให้สุนัขได้เรียนรู้ว่ายามที่คุณออกคำสั่ง 'นั่ง' มันเป็นเวลาที่ต้องให้ความสนใจหรือสงบลง
- ยืนเบื้องหน้าสุนัขของคุณ คุณจะต้องแสดงความสงบแต่มีพลังแน่วแน่ เรียกความสนใจของสุนัขโดยจ้องตามัน เวลาที่คุณพูดขึ้นว่า "[ชื่อสุนัข], นั่ง," ให้ถืออาหารเป็นของล่ออยู่เหนือจมูกของมัน เพื่อที่จะมองเห็นของล่อ สุนัขจำต้องผงกหัวขึ้น ซึ่งจะทำให้ก้นของมันลงไปที่พื้น

2. กล่าวชมเมื่อสุนัขนั่งลงทันทีที่เขานั่งลง พูดขึ้นว่า "นั่นแหละ!" แล้วให้ของล่อเป็นรางวัล เป้าหมายคือให้สุนัขเชื่อมโยงการกระทำ คำพูด หรือคำกับรางวัลและคำชม

3. เปลี่ยนรางวัลเป็นสัญญาณมือ เมื่อสุนัขได้เรียนรู้คำสั่งด้วยเสียงแล้ว ให้หยุดการช่วยเหลือแล้วเริ่มใช้สัญญาณมือประกอบ เริ่มง่ายๆ โดยการวางฝ่ามือไว้ข้างหน้าหัวสุนัข ตอนที่สั่งว่า "นั่ง" ให้ดึงนิ้วมือขึ้นมากำเป็นกำปั้นหลวมๆ และจบลงโดยฝ่ามือหงายขึ้น

4. ทำซ้ำจนกระทั่งสุนัขตอบสนองต่อคำสั่งทุกครั้ง มันอาจจะใช้เวลาบ้าง โดยเฉพาะถ้าคุณฝึกสุนัขโตหรือสุนัขที่หัวทึบ อย่างไรก็ตาม อย่าท้อถอย! มันสำคัญมากต่อความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับสุนัขที่มันต้องทำตามการนำของคุณ นี่จะช่วยให้คุณอยู่ร่วมกันได้ และในที่สุดจะเป็นการทำให้สุนัขมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

การฝึกคำสั่งนอนหมอบ
1. สอนสุนัขให้หมอบ "หมอบ" มักจะใช้รวมกับ "คอย" และตั้งใจให้เป็นคำสั่งที่แรงขึ้น หมอบจะเป็นการหยุดการกระทำทุกอย่างก่อนหน้าที่กำลังทำก่อนออกคำสั่งนี้ ดังนั้นมันจึงมีประโยชน์ในการควบคุมพฤติกรรม                                    

2. อีกครั้งให้สุนัขเริ่มที่ท่า 'นั่ง' เมื่อคุณพูดว่า "[ชื่อสุนัข], หมอบ!," ให้ยื่นมือซ้ายไปเหนือหัวสุนัข โดยคว่ำฝ่ามือไปที่พื้น ส่วนมือขวาถือรางวัลและลดมือลงไปที่พื้นช้าๆ โดยให้อยู่ใกล้ๆ กับตัวสุนัข

3. ให้แรงเสริมแก่สุนัขเมื่อมันสามารถทำตามคำสั่งได้สำเร็จ พอทั้งบั้นท้ายกับศอกของสุนัขแนบลงแตะพื้น ให้พูดว่า "ใช่!" และให้รางวัล มันจะทำให้ในใจของสุนัขเกิดความเชื่อมโยงระหว่างการกระทำกับรางวัล

4. ทำกระบวนการทั้งหมดซ้ำหลายๆ ครั้ง การทำซ้ำเป็นกุญแจสำหรับการเรียนรู้และทำตามคำสั่งของสุนัข เป้าหมายคือให้สุนัขได้ทำตามคำสั่งคุณไม่ว่ามันจะกำลังทำอะไรอยู่ในตอนที่คุณออกคำสั่ง ด้วยวิธีนี้ทำให้หากสุนัขกำลังเล่นซุกซนอะไร คุณสามารถหยุดพฤติกรรมนี้ได้อย่างรวดเร็วและได้ผล                                                                          - ก็เหมือนกับคำสั่งอื่นๆ ถ้าสุนัขไม่ทำตามคำสั่งหรือทำอย่างอื่น ให้เริ่มตั้งแต่ต้นใหม่ จับสุนัขมาอยู่ในท่านั่งอีกครั้งและเริ่มจากแรก


การฝึกคำสั่งคอย
1. สอนสุนัขให้ "คอย" มีคำสั่งบางคำสั่งที่สามารถช่วยชีวิตสุนัขและคำสั่ง “คอย” ก็เป็นหนึ่งในนั้น การทำให้สุนัขไม่เข้าไปยุ่งกับสถานการณ์ที่เป็นอันตราย เพื่อที่จะไม่ปล่อยให้มันเจอปัญหา สามารถทำได้โดยง่ายขึ้นเมื่อคุณฝึกให้สุนัขรู้จักคอยนิ่งๆ                              - ลูกสุนัขมีความเข้าใจตามสัญชาตญาณว่าจะต้องคอยอยู่นิ่งๆ เวลาที่ถูกข่มขู่และแม่สุนัขจะใช้คำสั่งให้ “คอย” เหมือนกัน ด้วยสัญชาตญาณผนวกกับการเริ่มฝึกแต่เล็กจะช่วยให้คุณฝึกสุนัขให้ทำตามคำสั่งคอยนิ่งๆ ได้ง่ายขึ้น

2. เริ่มฝึกสุนัขในท่า “นั่ง” เวลาสุนัขนั่ง ให้ยืนโดยที่มันอยู่ทางข้างซ้ายของคุณมองไปในทิศทางเดียวกัน หลังจากนี้ท่านี้จะถูกอ้างถึงในฐานะท่า ‘ตั้งต้น’

3. จับปลอกคอสุนัขเอาไว้แล้วพูดว่า "[ชื่อสุนัข] คอย!"  คุณควรทำเช่นนี้ในขณะที่วางฝ่ามืออยู่เบื้องหน้าสุนัขโดยไม่สัมผัสมัน ปลายนิ้วควรชี้ขึ้นและฝ่ามือควรจะประจัญหน้ากับสุนัข รอสองวินาที ถ้าสุนัขไม่ขยับไปไหน ให้บอกออกมาว่า "ใช่!" แล้วให้รางวัลแก่สุนัข                - ถ้าสุนัขลุกขึ้น ให้บอกว่า "อุ๊บ!" แล้วเริ่มต้นใหม่ เริ่มด้วย "นั่ง" แล้วค่อยออกคำสั่งอีกครั้งให้ "คอย"
- ทำซ้ำจนกระทั่งสุนัขของคุณคอยอยู่กับที่อย่างน้อยสิบวินาทีแล้วจึงค่อยชมเชยมัน นี่หมายความว่าคุณอาจจำต้องเริ่มกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ต้นหลายต่อหลายครั้ง

4. ค่อยๆ เพิ่มจำนวนเวลาที่คุณให้สุนัขคอย พอสุนัขเริ่มเรียนรู้คำสั่งนี้ได้ดี คุณก็เริ่มเพิ่มระยะเวลาในขณะที่ค่อยๆ ถอยห่างออกมาตอนที่มันคอย หากสุนัขลุกขึ้นมา ให้ย้อนกลับไปตอนท่านั่งและทำกระบวนการช่วงนี้ซ้ำ จนกระทั่งคุณสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้อิสระระหว่างที่สุนัขคอยอยู่นิ่งๆ                                                                                - คุณควรมีคำสั่งเฉพาะให้สุนัขออกจากคำสั่งคอยอย่างเช่น "โอเค!" หรือ "มานี่" วิธีนี้สุนัขจะรู้ว่าเมื่อไหร่มันถึงขยับตัวได้

การฝึกคำสั่งเรียก
1. สอนสุนัขให้มาเวลาคุณเรียกสุนัข คำสั่ง "มา" รู้จักกันในอีกชื่อว่า "กลับ" ก็เหมือนคำสั่งพื้นฐานอื่นๆ ให้เริ่มโดยสุนัขอยู่ในท่า "นั่ง"

2. ดึงสุนัขเข้าหาตัวคุณเบาๆ ในระหว่างที่พูดว่า "[ชื่อสุนัข], มา!" คุณควรทำเช่นนี้ด้วยน้ำเสียงกระตุ้นมากกว่าที่ใช้ในคำสั่งอื่น เพราะคุณต้องการให้สุนัขอยากเข้ามาหาคุณ ออกท่าทางประกอบคำสั่งเพื่อแสดงให้สุนัขเห็นว่าคุณต้องการอะไร

3. ใช้รางวัลล่อสุนัขเข้ามา พอคุณได้แสดงให้สุนัขรู้ว่าต้องเข้ามาอย่างไรและคุณจะออกคำสั่งแบบใด ให้วางอาหารสุนัขไว้ตรงเท้าแล้วชี้ให้สุนัขเห็น หลังจากนั้นไม่นาน แค่กิริยาการชี้ไปที่พื้นข้างหน้าคุณก็เพียงพอแล้ว หลังจากนั้น จะใช้เพียงคำสั่งหรือท่าชี้นิ้วอย่างใดอย่างหนึ่งก็ทำให้สุนัขทำตามแล้ว

4. ส่งเสริมการกระทำด้วยคำชม เวลาสุนัขเข้ามาหาคุณ ให้ชมมันโดยใช้ประโยคว่า "มาได้ดีมาก!" ตบหัวมันเบาๆ แสดงให้สุนัขรู้ว่าคุณพึงพอใจกับสิ่งที่มันเพิ่งทำลงไป

5. ฝึกคำสั่งนี้ในเวลาและสถานที่แตกต่างกัน เวลาเล่นกับสุนัข ใช้โอกาสนี้เรียกมันข้ามห้องโดยใช้ชื่อมันแล้วบอกว่า "มา!" พร้อมกล่าวชมเมื่อมันวิ่งมาถึง นี่จะทำให้สุนัขคุ้นเคยกับคำสั่ง

การฝึกคำสั่งไม่ทำ
เมื่อลูกสุนัขทำพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ให้พูดคำว่า "ไม่" พร้อมทำเสียงดุ ๆ สั้น ๆ

การฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่งนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพียงทำตามหลักการและเคล็ดลับที่กล่าวมาข้างต้น ก็สามารถฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่ง และเติบโตเป็นสุนัขที่น่ารักและเป็นที่รักของทุกคนได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.wikihow.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้